top of page
My 2 Satangs:
มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ                            (Thailand Qualification Framework for Higher Education)”

นอกจากแก่นพื้นฐานปัญญาชนอุดมศึกษาไทยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ จะต้องการปัญญาชน อุดมศึกษาไทยเป็นผู้ “มีคุณธรรมและจริยธรรม” “เรียน” รู้ และ “มีปัญญา” ตลอดจนมีความสามารถ “ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ” และมี “ทักษะดิจิตอล”(ดังรายละเอียดข้างต้น) และเมื่อพิจารณาร่วมกับแผนภูมิแสดงการนำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาสู่การปฏิบัติ (ส่วนที่ 3 ภาคผนวก หน้า 5 ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552) จะพบเพิ่มเติมว่าหลักสูตรทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีคุณสมบัติ (Qualify) ขึ้นทะเบียน (Register) เป็นหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ “ต้อง” พ.ศ. 2552 เป็นหลักสูตรที่สร้างความ “แน่ใจ” (Ensuring) ว่า “แก่นพื้นฐาน” อยู่ในตัวบัณฑิตทุกคนสร้างให้บัณฑิต เรียนรู้และมีความสามารถ หรือสามัตถิยะ (Competence)” ซึ่งสามารถถ่ายโอน (Transferable) และฝึกฝน (Trainable) เป็นสมรรถนะ (Competency) ทำงานได้ประสบความสำเร็จ


นอกจากนี้ “แผนภูมิแสดงการนำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาสู่การปฏิบัติซึ่งไม่ได้รับ การสื่อสารให้เข้าใจ “หลักการและเหตุผล” ที่แท้จริง ทำให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเห็นเป็นภาระที่ไม่ จำเป็นต้องดำเนินการ ทั้งๆ ที่เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ้งจะพบแนวคิดที่น่าทึ่ง (เมื่อ 15 ปีที่แล้ว) คือ

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา: ช่องว่างที่ท้าทาย

ถ้าท่านอ่านมาจนถึงจุดนี้ (โดยไม่งงหลงทางไปก่อน) จะพบว่ามโนทัศน์ (Concept) สำคัญของ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีดังนี้

  • มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Transform) การอุดมศึกษาไทยเชิงผลผลิต (Output) เป็นการอุดมศึกษาไทยเชิงผลลัพธ์ (Outcome)

  • เป็น “แก่นพื้นฐาน” ระบุตัวตนของปัญญาชนอุดมศึกษาไทยที่สถาบันอุดมศึกษาไทยต้อง บ่มเพาะให้เกิดในตัวบัณฑิตทุกคน

  • เป็นเกณฑ์บัณฑิตที่ประกันคุณภาพด้วยการสร้าง “ความแน่ใจ” (Ensure) โดยตรงกับตัวบัณฑิต ว่าสามารถบ่มเพาะ “แก่นพื้นฐาน” ให้อยู่ในตัวบัณฑิตทุกคนที่มี “หลักฐานเชิงประจักษ์” ที่สามารถ “พิสูจน์ทราบ” ได้

 

เมื่อสถาบันอุดมศึกษาไทยเข้าใจมโนทัศน์ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552 อย่างถ่องแท้จนนำไปปฏิบัติได้แล้ว ยังจะ“ไม่มีใครเอา” อีก ผมคงสิ้นหวังไม่มีโอกาสได้เห็นการพัฒนาการอุดมศึกษาไทยสู่“การศึกษา 4.0” เพื่ออบรมบ่มเพาะ“คนไทย 4.0” ที่ มองประโยชน์ของประเทศชาติและมีความสามารถสร้าง “นวัตกรรม”เนื่องจากการอุดมศึกษาเชิง ผลลัพธ์ (Outcome Based Education) จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสร้างรากฐานที่มั่นคงต่อ การพัฒนาอุดมศึกษาไทยสู่“ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)”

 

อย่างไรก็ตามการดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ให้ประสบความสำเร็จ ในบริบทของการอุดมศึกษาไทยปัจจุบัน เรายังมี “ช่องว่าง (Gap)” ที่เป็นสิ่งท้าทายอีกหลายประเด็น แต่อุปสรรคที่สำคัญของการพัฒนาอุดมศึกษาไทย คือ

 


การอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันเป็นชุมชน “อุดม”ด้วยนักวิชาการ และนักวิชาชีพในศาสตร์สาขาต่างๆ แต่ความพร้อมที่จะ“ทุ่มเท” กำลังกายและกำลังใจ พัฒนาตนเองเป็น“มืออาชีพ (Professional)”ด้านการอุดมศึกษาเพื่อสร้างคุณค่าให้กับประชาคมการอุดมศึกษาตลอดจนพัฒนาการอุดมศึกษาให้มีคุณภาพดีขึ้น จะมีน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยในนักวิชาการ และนักวิชาชีพ

ความไม่เป็น “มืออาชีพ” ด้านการอุดมศึกษาเป็นช่องว่างวิกฤตที่ท้าทายต่อการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการอุดมศึกษาเป็นการอุดมศึกษาเชิงผลลัพธ์ในอนาคต 
 

เป้าหมายสูงสุดเบื้องหลังกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 คือ แนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Transforme) การอุดมศึกษาไทยเชิงผลผลิต (Output Based Higher Education) ดำเนินการบนฐาน (โดเมน) “การสอน และหรือ ผู้สอน (อาจารย์)” เป็น การอุดมศึกษาเชิงผลลัพธ์ “(Outcome Based Higher Education)” ดำเนินการบนฐาน (โดเมน)“การเรียนรู้ และหรือ ผู้เรียน (นิสิต/นักศึกษา) ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 เพื่อบ่มเพาะผู้ “เรียน” รู้
 

จากประสบการณ์ รับทราบ”หลักสูตรในการทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของผม หลักสูตรส่วนใหญ่ (หรือเกือบทั้งหมด) ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้พิสูจน์ทราบได้ว่า บัณฑิตของหลักสูตรจะสามารถเป็นผู้ “เรียน” รู้ ได้จริง เนื่องจากหลักสูตรออกแบบโดยการ “โปรย” ผลการเรียนรู้ที่กำหนด 5 ด้านบนหลักสูตรเชิง “ผลผลิต” ที่เคยดำเนินการ แต่ไม่ใช่การ ออกแบบหลักสูตรเชิง “ผลลัพธ์” ที่จะพิจารณาพัฒนาการของนิสิต/นักศึกษาจากการเรียนรู้ และ เน้นการเปลี่ยนแปลง (Change)ในตัวผู้เรียนด้านและหรือมีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดการศึกษา 5 ด้านเชิง “ผลลัพธ์” บนฐาน “การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ”

bottom of page