top of page

การศึกษาเชิงผลลัพธ์ หรือเรียกย่อๆ ว่า OBE เป็นการศึกษาที่เน้นการออกแบบ "กระบวนการ" เพื่อเปลี่ยนแปลง (Change) ผู้เรียน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลจากการ หลักสำคัญของ OBE คือ ต้องมีเป้าหมาย  (Goal) ที่กำหนดเป็นรูปธรรมด้วยผลการเรียน (Learning Outcome) และผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ (Accomplishment) ความแตกต่างของการ ศึกษาเชิงผลลัพธ์กับการศึกษาเชิงผลผลิตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแสดงในตารางที่ 1 ด้านล่างนี้

ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการศึกษาเชิงผลลัพธ์ และการศึกษาเชิงผลผลิต

ตารางที่ 1 แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการศึกษาเชิงผลลัพธ์นั้น ออกแบบการทำงานบนพื้นฐานของ “สัมฤทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน” เป็นสำคัญ ซึ่งกำกับโดยองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบด้วยกันคือ
 

  1. ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) และวัตถุประสงค์ (Objective) หรือเฉพาะผลการเรียนรู้

  2. วิธีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Assessment Method)

  3. ศาสตร์การสอน (Pedagogy) และกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) หรือ การ ดำเนินการเรียนการสอน (Teaching/Learning Approaches)

ซึ่งปัจจัยทั้งสามจะต้องออกแบบให้สอดคล้องไปในแนวเดียวกันอย่างสร้างสรรค์ (Constructive Alignment) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และประเมินได้ ดังรูปข้างล่างโดยเฉพาะการกำหนดผลการ เรียนรู้ซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบนี้ เนื่องจากการเรียนรู้เป็นนามธรรมและเกิดขึ้นภายในผู้เรียนและวัดได้ยาก ดังนั้นการเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและวัดได้จะทำให้การจัดการเรียนรู้เชิงผลลัพธ์มีคุณภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะในมุมมองของผู้เรียน ผลลัพธ์ การเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนทราบว่าผู้สอนคาดหวังให้ผู้เรียนต้อง "ทำอะไรได้ทำอะไรเป็น" เมื่อจบบทเรียนแต่ละครั้ง

 

My 2 Satangs: การศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Outcome Based Education)

เนื่องจากการศึกษาเชิงผลลัพธ์เน้นสัมฤทธิผลของผู้เรียนทุกคน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนอาจใช้เวลาเรียนไม่เท่ากัน และหรือวิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจากตารางที่ 1 จะเห็นว่าการศึกษาเชิงผลลัพธ์ไม่มี "กำหนดเวลา" หรือ "เทอม" ของการเรียนรู้ และเป็นการศึกษาเฉพาะบุคคลไม่ใช่การออกแบบวิธีการเรียนรู้แบบเดียวสำหรับผู้เรียนทุกคนเหมือนการศึกษาเชิงผลผลิตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน   
 

ระบบการศึกษาเชิงผลลัพธ์เป็นระบบที่มีกรอบแนวคิดเชิงการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อลดช่องว่างระหว่างผลการเรียนรู้จริงที่วัดได้กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expect Learning Outcomes) เป็นหลักประกันคุณภาพของระบบดังแสดงในรูปข้างล่าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การศึกษาเชิงผลลัพธ์ (ดังรูปข้างต้น) จะประกอบด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการด้วยกัน

  • กระบวนการ Validation (คอลัมน์แรกซ้ายมือสุด ในรูปข้างต้น) เป็นกระบวนการที่ได้มา ซึ่งผลเรียนรู้ในระดับหลักสูตร๏    

  • กระบวนการออกแบบหลักสูตร (คอลัมน์ที่สองจากซ้าย ในรูปข้างต้น) จะอยู่บนพื้นฐาน ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ไม่ใช่เนื้อหาที่สอน) ไล่เป็นระดับตั้งแต่ระดับหลักสูตรจนถึงระดับ รายวิชา หรือ โมดูล

  • กระบวนการออกแบบแผนการเรียนรู้ของผู้เรียน (คอลัมน์ที่สามจากซ้ายในรูปข้างต้น)จะเป็น Constructive Alignment ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ การวัดผล และศาสตร์การสอน (Pedagogy) กับกิจกรรมการเรียนรู้”

 

กระบวนการวัดผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการการดำเนินงาน (คอลัมน์ขวามือสุด ในรูปข้างต้น) การทวนสอบ (Verification) เป็นการเทียบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ตั้งแต่ระดับวิชา หลักสูตร และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นกระบวนการป้อนกลับที่สำคัญแสดงถึงการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นหลักประกันคุณภาพที่ฝังอยู่ในระบบ ส่งผลให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และจากไดอะแกรมดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่าการศึกษาเชิงผลลัพธ์ได้มีกระบวนการสร้าง “ความ แน่ใจ (Ensure)” ว่า “บัณฑิต” มีการเรียนรู้เกิดขึ้นในบัณฑิตทุกคนจริงๆ เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ ต้อง

  • "แถลง" ความคาดหวัง "สิ่ง" ที่ผู้เรียนต้องทำได้ทำเป็นที่เป็นรูปธรรมเป็นข้อความที่ชัดเจน ปฏิบัติ และวัดได้ ที่เรียกว่า“ผลลัพธ์การเรียนรู้"

  • "ทำ" ตามที่แถลงโดยการออกแบบทุกด้านของกระบวนการจัดการศึกษา ตั้งแต่การ ออกแบบหลักสูตร แผนการเรียนรู้ และศาสตร์การสอน และหรือกิจกรรมการเรียนรู้

  •  "วัด" ผลการเรียนรู้สิ่งที่แถลงไว้

  • "ปรับปรุง" กระบวนการเพื่อให้ได้ผลตามที่แถลง

bottom of page