top of page

เมื่อพูดถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ประชาคมอุดมศึกษาไทยหลายท่าน หมายถึง “ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทั้งสองคำเหมือนกันในมิติที่ต้องการให้เกิดพัฒนาการเปลี่ยนแปลง (Change) ในตัวผู้เรียนจากการเรียนรู้

 

แต่ “ผลลัพธ์การเรียนรู้” เป็นคำทั่วๆไป ที่ในปัจจุบันยอมรับกันว่า หมายถึง “สิ่ง (What)” ที่ผู้เรียนต้อง “รู้” สามารถ “ทำได้” และหรือ “รู้สึกได้”

 

ความสับสนและหรือไม่เข้าใจเรื่องถัดไปก็คือ“ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน” (หรือที่ประชาคมอุดมศึกษาส่วนใหญ่เรียกกันว่า TQF) ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 คืออะไรแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรกับ “ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)” ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องเดียวกันในมิติของการศึกษาที่ต้องการให้เกิดพัฒนาการเปลี่ยนแปลง (Change)ในตัวผู้เรียนจากการเรียนรู้


แต่ “ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน” เป็นการเขียนผลการเรียนรู้เชิง“วัตถุประสงค์” ที่คาดหวังของการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 เน้นความสามารถที่บัณฑิตต้องทำได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นการเขียน“วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behaviour Objectives)” ผลการเรียนรู้ 5 ด้านยังไม่สะท้อนถึงวิธีการทำให้เกิดความสามารถนั้นๆและการ วัดผล อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงยังไม่เป็น “ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome)” ที่สมบูรณ์ นั่นก็ หมายความว่า

My 2 Satangs:
ทำไมใครๆ ก็พูดถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
ในทางปฏิบัติ หลักสูตรควรจะเขียนชุด “Learning Outcomes” ที่สะท้อน “ผลการเรียนรู้  5 ด้าน” ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ   

การศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Outcome Based Education): กุญแจสำคัญไขปริศนา “การเรียนรู้” เกิดขึ้น จริงหรือไม่

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าสถาบันอุดมศึกษา “เริ่มต้น” การออกแบบหลักสูตร และหรือ แผนการสอน จากการ “เล่ง” เป้า “ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)” และพยายามจัด กระบวนการจัดการการอุดมศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยผลลัพธ์การเรียนรู้ สถาบันการ อุดมศึกษาจะสามารถ “แน่ใจ (Ensure)” ว่า “บัณฑิต” ทุกคนเกิดการเรียนรู้อย่างแน่นอน ซึ่ง กระบวนการจัดการศึกษาดังกล่าว สำหรับผมจะต้องเป็น “การศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Outcome Based Education)”
 

bottom of page