top of page

องค์ประกอบหลักการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาและความคิดสร้างสรรค์

การพัฒนาเชิงปัญญาให้เกิดในตัวผู้เรียนเพื่อสร้างความสามารถสำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นกระบวนการพัฒนาแนวคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่ออนาคต มากกว่าทักษะการปฏิบัติด้วยมือเลียนสิ่งที่ผ่านมาในอดีตเหมือนศตวรรษที่ 20 ด้วยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นการ
จัดการเรียนการสอนที่ต้องทำให้ผู้เรียนเรียนรู้พัฒนาต่อยอดหลักการพื้นฐานจนเกิดการเรียนรู้ สร้างเป็นความรู้ในตนด้วยตนเอง การดำเนินการดังกล่าวนี้ต้องอาศัยการจัดการสอนที่มีคุณภาพสูงกว่ากระบวนการสอนในศตวรรษที่ผ่านมาซึ่งเน้นความจำและหรือความเข้าใจเนื้อหาวิชาการต่างๆ ในรายวิชาเป็นหลัก


การจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูงเพื่อพัฒนาปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นกระบวนการที่
ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

  1. อาจารย์ผุ้สอนต้องมีความเป็น “มืออาชีพ” ด้านการสอน กล่าวคือมีความเข้าใจ การเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนการเลือกใช้ศาสตร์การสอนและกิจกรรมการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสร้าง ความรู้ในตน และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

  2. กระบวนการการเรียนรู้ต้องเป็นเชิงผลลัพธ์ เน้นหลักการ (Concepts) และกระบวนการ คิดเพื่อพัฒนาความรู้ในตน (Tacit Knowledge) ของผู้เรียน (Mind Active)

  3. การออกแบบหลักสูตรและแผนการเรียนรู้ ต้องเริ่มจาก “ผลลัพธ์การเรียนรู้ Learning Outcomes) ซึ่งเป็นที่ผู้เรียนต้องคิดได้ทำเป็น” เมื่อจบหลักสูตรและหรือบทเรียน เป็นตัว กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล

เรียนเชื่อมโยงต่อหลักการ

การเรียนรู้เพื่อให้เกิดปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ จะเน้นกระบวนการ (Process) พัฒนาต่อยอด “หลักการ (Concepts)” ให้เป็นความรู้ในตน มากกว่า การพัฒนาความเข้าใจหลักการจาก เนื้อหาและหรือข้อเท็จจริง (Fact) ในอดีต ของรายวิชาต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เนื้อหารายวิชา

สำหรับศตวรรษที่ 21 จะล้าสมัยและเปลี่ยนแปลงเร็ว แต่หาได้ง่าย การเริ่มต้นการจัดการเรียนการ สอนจากเนื้อหาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมรรคผลใดๆ การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียนจะเกิดมรรคผลมากกว่าจากการต่อยอดหลักการ

 

กระบวนการคิดต่อยอดจำเป็นต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจหลักการพื้นฐาน (Basic Concepts) ซึ่ง จำเป็นต้องมีการชี้แนะ (Instruct) จากผู้สอน เพื่อเป็นรูปแบบพื้นฐาน (Basic Building Blocks) นำ ไปใช้ต่อยอด สร้างหลักการพื้นฐานเชื่อมโยง (Overarching Concepts) และพัฒนาเป็นรูปแบบตาม ความคิดเกิดปัญญาในตนในที่สุด 

My 2 Satangs: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: Understanding the Concept

รูปที่ข้างต้นแสดงการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมโยงหลักการ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ

ลำดับขั้นแรก: เข้าใจความรู้พื้นฐาน (Main Concept)
การดำเนินการในลำดับขั้นแรกมีขั้นตอนดังนี้

    1. กำหนดความสามารถที่ผู้เรียนต้องทำได้เมื่อจบบทเรียน1.  

    2. ระบุหลักการพื้นฐานที่ผู้เรียนต้องเข้าใจเพื่อนำไปต่อยอดในการ      สร้างรูปแบบตามความคิด ของตนเอง (Basic Concept Building Block)

    3. ออกแบบวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมทำให้ผู้เรียนเข้าใจ ซึ่งอาจจะใช้การ บรรยายให้ผู้เรียนจำและนำไปใช้ปฏิบัติ ถ้าเป็นหลักการพื้นฐานที่เข้าใจยาก

    4. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

เวลาที่ใช้ในกระบวนการนี้ควรใช้เวลาประมาณไม่เกินของเวลาทั้งหมด10% นอกจากเป็นหลัก การพื้นฐานที่ยาก และหรือมีจำนวนมาก อาจจะใช้เวลามากขึ้นได้ตามความเหมาะสม

ลำดับขั้นสอง: วิเคราะห์ความเชื่อมโยงหลักการพื้นฐานเพื่อสร้างหลักการต่อยอด (Overarching Concepts)

    5. ออกแบบวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนคิดประยุกต์ใช้ความรู้ที่เข้าใจมาสังเคราะห์ความเชื่อมโยงของความรู้พื้นฐานภายใต้การฝึกและช่วยเหลือของผู้สอน

    6. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

เวลาที่ใช้ในกระบวนการนี้ควรใช้เวลาประมาณไม่เกิน 20% ของเวลาทั้งหมด แต่อาจจะปรับให้ มากหรือน้อยกว่าเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม

 

ลำดับขั้นสาม:สังเคราะห์ความรู้ในตนของผู้เรียน

    7. ออกแบบงาน และหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนสร้างรูปแบบตามแนวความคิด ของตนเองจากพื้นฐานความรู้เหล่านั้นเพื่อสามารถทำสิ่งที่กำหนด ในขั้นตอนที่ 1

    8. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

เวลาที่ใช้ในกระบวนการนี้ควรใช้เวลาประมาณไม่เกิน 70% ของเวลาทั้งหมดแต่อาจจะปรับได้ตาม ความเหมาะสม

 

bottom of page